วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

งานพิเศษ มรดกโลก


 -มรดกโลก World Heritage Site คืออะไร
ตอบ  สถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต


 -การแบ่งประเภทของมรดกโลก
   ตอบ  มรดกโลก แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ มรดกโลกทางวัฒนธรรม (World Cultural Heritage) และมรดกโลกทางธรรมชาติ (World Natural Heritage)

-ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก
 ตอบ อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่

ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน
บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อ มาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้ เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ [1] (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อ ***คณะกรรมการมรดกโลก ***ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้าง ที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใด
จะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ


 -มรดกโลกที่ขึ้นบัญชีเอาไว้ในขณะนี้
  ตอบ ปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งหมด ๙๓๖ แห่ง ใน ๑๕๑ ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ๗๒๕ แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ ๑๘๓ แห่ง และอีก ๒๘ แห่ง  เป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น ๕ พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา  อาหรับ  เอเชีย-แปซิฟิก ยุโรป-อเมริกาเหนือ และละตินอเมริกา-แคริบเบียน 


-มรดกไทยที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ไทยที่ตั้งอยู่ใน จ.พระนครศรีอยุธยา รับพิจารณาเป็นมรดกโลกเมื่อ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2534 มีโบราณสถานกระจัดกระจายอยู่ไม่ต่ำกว่า 200 แห่ง                              


แหล่งมรดกโลกสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์นี้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อ ปี พ.ศ.2534                                           


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ลงทะเบียนของยูเนสโก ระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 กินพื้นที่ครอบคลุม 6 อำเภอของ 3 จังหวัด ได้แก่ อ.บ้านไร่ อ.ลานสัก อ.ห้วยคต จ.อุทัยธานี อ.สังขละบุรี อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี และ อ.อุ้มผาง จ.ตาก มีพื้นที่ 4,046,747 ไร่ หรือ 6,427 ตารางกิโลเมตร                                  


แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง บ้านเชียง จ.อุดรธานี เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน                                  


มรดกโลก ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นมรดกโลกแหล่ง ที่ 5 ของไทย และเป็นอันดับที่ 2 ของมรดกทาง
ธรรมชาติไทย ได้รับการลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อ วันที่ 10-17 กรกฎาคม พ.ศ.2548



-สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโล
ตอบ การลาออกเป็นสิ่งที่ไทยพึงกระทำมานานแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากการเป็นสมาชิกหรือเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก ประเทศสมาชิกต้องรับภาระชำระค่าบำรุงและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งไทยได้ประโยชน์เป็นนามธรรมเท่านั้น โดยได้ชื่อว่ามีสถานที่หลายแห่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา สุโขทัย บ้านเชียง ทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง และผืนป่าเขาดงพญาเย็น ฯลฯ โดยไทยได้ประโยชน์ในการเผยแพร่วัฒนธรรมซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของยูเนสโก

ผลการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554

รายชื่อ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เพื่อไทย (61ที่นั่ง)

1.นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
2.นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ
3.ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง
4.นายเสนาะ เทียนทอง
5.พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก
6.นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
7.นายปลอดประสพ สุรัสวดี
8.นายจตุพร พรหมพันธุ์
9.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
10.นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช
11.พลตำรวจโทชัจจ์ กุลดิลก
12.นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
13.นายบัณฑูร สุภัควณิช
14.พันเอกอภิวันท์ วิริยะชัย
15.นายสันติ พร้อมพัฒน์
16.พลตำรวจเอกวิรุฬห์ พื้นแสน
17.พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์
18.นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์
19.นายเหวง โตจิราการ
20.นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
21.นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
22.นายวัฒนา เมืองสุข
23.พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา
24.ร้อยตำรวจเอกนิติภูมิ นวรัตน์
25.นางสาวภูวนิดา คุนผลิน
26.นายสุนัย จุลพงศธร
27.นางระพิพรรณ พงศ์เรืองรอง
28.นายคณวัฒน์ วศินสังวร
29.นายอัสนี เชิดชัย
30.นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร
31.พันตรีอาณันย์ วัชโรทัย
32.นายวิรัช รัตนเศรษฐ
33.นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
34.นายนภินทร ศรีสรรพางค์
35.นายถาวร ตรีรัตน์ณรงค์
36.นางวราภรณ์ ตั้งภากรณ์
37.นางสาวสุนทรี ชัยวิรัตนะ
38.นางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร
39.นายสมพล เกยุราพันธุ์
40.นายพงศกร อรรณนพพร
41.นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
42.นางสาวขัตติยา สวัสดิผล
43.นายธนเทพ ทิมสุวรรณ
44.นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์
45.นายเกียรติชัย ติรณศักดิ์กุล
46.นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท
47.นางเยาวนิตย์ เพียงเกษ
48.นายพายัพ ปั้นเกตุ
49.นางรังสิมา เจริญศิริ
50.นายเชิดชัย ตันติศิรินทร์
51.นายกานต์ กัลป์ตินันท์
52.นายธนิก มาสีพิทักษ์
53.นายพิชิต ชื่นบาน
54.นายก่อแก้ว พิกุลทอง
55.นายนิยม วรปัญญา
56.นางสาวจารุพรรณ กุลดิลก
57.นายอรรถกร ศิริลัทธยากร
58.นายเวียง วรเชษฐ์
59.นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
60.นายวิเชียร ขาวขำ
61.นายประวัฒน์ อุตโมท

ประชาธิปัตย์ (44 ที่นั่ง)
1.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
2.นายชวน หลีกภัย
3.นายบัญญัติ บรรทัดฐาน
4.นายเทอดพงษ์ ไชยนันนทน์
5.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
6.นายกรณ์ จาติกวณิช
7.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
8.นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
9.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี
10.นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์
11.นายไพฑูรย์ แก้วทอง
12.นายอิสสระ สมชัย
13.นายเจริญ คันธวงศ์
14.นายอลงกรณ์ พลบุตร
15.นายอาคม เอ่งฉ้วน
16.นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์
17.นายสุทัศน์ เงินหมื่น
18.นายองอาจ คล้ามไพบูลย์
19.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
20.นายวิฑูรย์ นามบุตร,
21.นายถวิล ไพรสณฑ์
22.นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
23.พันเอกวินัย สมพงษ์
24.นายสุวโรช พะลัง
25.นางผุสดี ตามไท
26.นายปัญญวัฒน์ บุญมี
27.นายสามารถ ราชพลสิทธิ์
28.นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์
29.นายภุชงค์ รุ่งโรจน์
30.นายนิพนธ์ บุญญามณี
31.นางอานิก อัมระนันทน์
32.นายโกวิทย์ ธารณา
33.นายอัศวิน วิภูศิริ
34.นายธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ
35.นายเกียรติ สิทธีอมร
36.นายบุญยอด สุขถิ่นไทย
37.นายกนก วงษ์ตระหง่าน
38.พลเอกพิชาญเมธ ม่วงมณี
39.นายสุกิจ ก้องธรนินทร์
40.นายประกอบ จิรกิติ
41.นายพีรยศ ราฮิมมูลา
42.นายกษิต ภิรมย์
43.นายวีระชัย วีระเมธีกุล
44.นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท

ภูมิใจไทย (5ที่นั่ง)
1.นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
2.นายชัย ชิดชอบ
3.นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค
4.นางนาที รัชกิจประการ
5.นายศุภชัย ใจสมุทร

รักประเทศไทย (4ที่นั่ง)
1.นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
2.นายชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์
3.นายโปรดปราน โต๊ะราหนี
4.นายพงษ์ศักดิ์ เรือนเงิน

ชาติไทยพัฒนา (4ที่นั่ง)
1.นายชุมพล ศิลปอาชา
2.พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์
3.นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง
4.นายยุทธพล อังกินันทน์

ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (2ที่นั่ง)
1.ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์
2.นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

รักษ์สันติ (1ที่นั่ง)
ร้อยตำรวจเอกปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

มาตุภูมิ (1ที่นั่ง)
นายสนธิ บุญยรัตกลิน

พลังชล (1ที่นั่ง)
นายสันตศักย์ จรูญ

มหาชน (1ที่นั่ง)
นายอภิรัต ศิรินาวิน

ประชาธิปไตยใหม่ (1ที่นั่ง)
นายสุรทิน พิจารณ์

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พรรคการเมืองที่สมัครลงเลือกตั้ง พ.ศ.2554


 
หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ


หมายเลข 2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล


หมายเลข 3 พรรคประชาธิปไตยใหม่ ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 6 คน
หัวหน้าพรรค : นายสุรทิน พิจารณ์


หมายเลข 4 พรรคประชากรไทย ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 13 คน
หัวหน้าพรรค : นายสุมิตร สุนทรเวช


หมายเลข 5 พรรครักประเทศไทย ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 11 คน
หัวหน้าพรรค : นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์


หมายเลข 6 พรรคพลังชล ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 18 คน
หัวหน้าพรรค : รศ.เชาวน์ มณีวงษ์


หมายเลข 7 พรรคประชาธรรม ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 25 คน
หัวหน้าพรรค : นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์


หมายเลข 8 พรรคดำรงไทย ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 13 คน
หัวหน้าพรรค : นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู 


หมายเลข 9 พรรคพลังมวลชน ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 8 คน
หัวหน้าพรรค : นายวิษณุ อินทรพยุง


หมายเลข 10 พรรคประชาธิปัตย์ ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ


หมายเลข 11 พรรคไทยพอเพียง ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 3 คน
หัวหน้าพรรค : นายจำรัส อินทุมาร


หมายเลข 12 พรรครักษ์สันติ ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 64 คน
หัวหน้าพรรค : พลตำรวจโทถวิล สุรเชษฐพงษ์


หมายเลข 13 พรรคไทยเป็นสุข ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 5 คน
หัวหน้าพรรค : นายประดิษฐ์ ศรีประชา


หมายเลข 14 พรรคกิจสังคม ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายทองพูล ดีไพร


หมายเลข 15 พรรคไทยเป็นไท ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 10 คน
หัวหน้าพรรค : นายพงศ์สุชิน วีระกิธพานิช (รักษาการ)
หมายเลข 16 พรรคภูมิใจไทย ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล


หมายเลข 17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 32 คน
หัวหน้าพรรค : นาย วิชัย ศิรินคร


หมายเลข 18 พรรคเพื่อฟ้าดิน ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 1 คน
หัวหน้าพรรค : นางขวัญดิน สิงห์คำ


หมายเลข 19 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 30 คน
หัวหน้าพรรค : นายโชติ บุญจริง


หมายเลข 20 พรรคการเมืองใหม่ ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 24 คน
หัวหน้าพรรค : นายสมศักดิ์ โกศัยสุข


หมายเลข 21 พรรคชาติไทยพัฒนา ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายชุมพล ศิลปอาชา


หมายเลข 22 พรรคเสรีนิยม ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 8 คน
หัวหน้าพรรค : นายพุทธชาติ ช่วยราม


หมายเลข 23 พรรคชาติสามัคคี ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 9 คน
หัวหน้าพรรค : นายนพดล ชัยฤทธิ์เดช


หมายเลข 24 พรรคบำรุงเมือง ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 14 คน
หัวหน้าพรรค : นายสุวรรณ ประมูลชัย


หมายเลข 25 พรรคกสิกรไทย ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 2 คน
หัวหน้าพรรค : นายจำลอง ดำสิม


หมายเลข 26 พรรคมาตุภูมิ ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 40 คน
หัวหน้าพรรค : พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน


หมายเลข 27 พรรคชีวิตที่ดีกว่า ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 4 คน
หัวหน้าพรรค : นายวรรธวริทธิ์ ตันติภิรมย์


หมายเลข 28 พรรคพลังสังคมไทย ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 5 คน
หัวหน้าพรรค : นายวิวัฒน์ เลอยุกต์


หมายเลข 29 พรรคเพื่อประชาชนไทย ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 4 คน
หัวหน้าพรรค : นายดิเรก กลิ่นจันทร์